Sustainability

 EN | TH

จรรยาบรรณองค์กร

 

BDMS มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีการกำกับดูแลกิจการภายใต้หลักจริยธรรมที่ดี และต่อต้านคอร์รัปชัน รวมทั้งคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียจากการดำเนินธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมทั้งสนับสนุนและกำกับดูแลให้ผู้บริหารและพนักงานยึดถือปฏิบัติอย่างพร้อมเพรียงทั่วทั้งองค์กร โดยกำหนดและประกาศใช้จรรยาบรรณธุรกิจและนโยบายด้านจริยธรรมธุรกิจฉบับต่าง ๆ ได้แก่ จรรยาบรรณของบริษัท นโยบายการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน นโยบายการคุ้มครองและบรรเทาความเสียหายให้กับผู้รายงาน และนโยบายการไม่ล่วงละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธิ์ รวมทั้งสื่อสารให้ผู้บริหาร กรรมการบริษัท และพนักงานทุกคนได้รับทราบ เพื่อเป็นหลักเกณฑ์และกรอบในการปฏิบัติงาน โดยถือเอาคุณธรรม จริยธรรม ธรรมภิบาล และความสุจริตเป็นหลักสำคัญในการดำเนินธุรกิจ

จรรยาบรรณสำหรับบุคลากร 

BDMS มุ่งมั่นในการแสดงเจตนารมณ์ในการดำเนินกิจการ และบรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อยในเครือฯ ซึ่งใน ปี 2566 บริษัทมีการทบทวนและจัดทำจรรยาบรรณพนักงาน สำหรับบุคลากรทุกระดับในองค์กร เพื่อเป็นหลักเกณฑ์และกรอบในการปฏิบัติงาน โดยถือเอาคุณธรรม จริยธรรมและความสุจริตเป็นสำคัญและยึดหลักธรรมาภิบาลในการดำเนินกิจการ โดย BDMS กำหนดข้อพึงปฏิบัติ ดังนี้ 

  • การเคารพกฎหมาย
  • การดำเนินการด้านการเมือง
  • การรักษาทรัพย์สินของบริษัทฯ
  • การรักษาข้อมูลความลับ และการใช้ข้อมูลภายใน
  • การมีส่วนได้ส่วนเสีย
  • การให้และการรับของขวัญ
  • การปฏิบัติตน และการปฏิบัติต่อพนักงาน
  • การปฏิบัติตามหลักการความเท่าเทียมด้านการแข่งขันทางการค้า
  • การปฏิบัติตามหลักความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

 

จรรยาบรรณคู่ค้า BDMS

จรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า โดยมุ่งหวังเพื่อกำหนดหลักการปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างยั่งยืน และเพิ่มความสัมพันธ์กับคู่ค้าและสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนสำหรับผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอก ครอบคลุมทั้งเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความโปร่งใส ความเป็นธรรม ตรวจสอบได้ โดยในปี 2566 BDMS ดำเนินการทบทวนจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้าในประเด็นการปฏิบัติด้านแรงงาน การไม่เลือกปฏิบัติและไม่คุกคามในองค์กร และการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต   รวมทั้งประเด็นการบริหารจัดการการจัดซื้อจัดหาอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยมีการติดตามผลการปฏิบัติงานของคู่ค้าผ่านระบบการตรวจประเมิน เพื่อให้มั่นใจว่าสอดคล้องกับหลักจรรยาบรรณคู่ค้า ซึ่งหากมีกรณีฝ่าฝืนข้อปฏิบัติของจรรยาบรรณคู่ค้าและส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของเครือ  BDMS ทางคู่ค้าอาจถูกพิจารณาถอดถอนรายชื่อในทะเบียนบัญชีรายชื่อคู่ค้าที่ได้รับการอนุมัติรับรอง (Approved Vendor List: AVL) ในระบบจัดซื้อจัดจ้าง

จริยธรรมทางธุรกิจ  
(Business Ethics)

แรงงานและสิทธิมนุษยชน  
(Labor Practice and Human Rights)

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย  
(Occupational Health and Safety)

สิ่งแวดล้อม  
(Environment)

การมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม  
(Social Development Participation)

ติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ค้า(Supplier Code of Conduct)

ความมุ่งมั่นในการดำเนินงานทางการตลาดอย่างมีจริยธรรม 

กรอบการบริหารจัดการตามหลักจริยธรรมของ BDMS 

BDMS จัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมเพื่อสนับสนุนการปฎิบัติงานตามหลักจริยธรรม อันประกอบด้วยบุคลากรจากสาชาวิชาชีพต่างๆ เช่น บุคลากรด้านการดูแลสุขภาพ ฝ่ายดูแลและสนับสนุนผู้ป่วย ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล ฝ่ายบริหารจัดการคุณภาพ ทนายความ และผู้แทนศาสนา นอกจากนี้ คณะกรรมการจริยธรรมยังมีหน้าที่กำหนดแนวทางการปฎิบัติแก่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ป่วย และครอบครัวผู้ป่วยที่อยู่ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งในช่วงของการรักษา และอาจมีส่วนร่วมในการวางแผน พัฒนานโยบายและขั้นตอนการดำเนินงานของโรงพยาบาล ทั้งนี้ BDMS วางกรอบการบริหารจัดการจริยธรรมตามมาตรฐาน JCI (ฉบับที่ 7) เรื่องการกำกับดูแลกิจการ ความเป็นผู้นำ และทิศทางองค์กร พร้อมนำมาปรับใช้ในการดำเนินงาน ดังนี้ 

หลักจริยธรรมในการดำเนินงาน 

1. ให้ความสำคัญกับผู้ป่วยเป็นอันดับหนึ่ง 

1) ดูแลเอาใจใส่ทุกภาคส่วนและทำงานร่วมกับผู้ประกอบการในระดับบุคคลและระดับองค์กรอย่างเต็มที่ พร้อมร่วมมือกันสนับสนุนผู้ป่วยและผู้ดูแลให้ได้รับการรักษาพยาบาลที่ดีที่สุด 

2) ผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพทุกคนได้รับสิทธิและมีความรับผิดชอบร่วมกันในการปรับปรุงการเข้าถึงการบริการและการให้บริการเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย

3) คุ้มครองสิทธิและข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย 

4) ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจร่วมกันระหว่างผู้ป่วยหรือตัวแทนผู้ป่วยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษา ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาเองได้ 

5) กำหนดนโยบายและขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยมต่อผู้ป่วย โดยยึดผู้ป่วยเป็นหลักในการรักษา 

2. ส่งเสริมการทำงานอย่างมีอิสระตามหลักจริยธรรม 

1) ปฏิบัติงานและดำเนินธุรกิจตามหลักจริยธรรมอย่างมืออาชีพและเหมาะสม ยึดมั่นในคุณธรรมและความโปร่งใสในวิชาชีพ 

2) จัดหาช่องทางรายงานข้อผิดพลาดทางการรักษาและข้อกังวลเกี่ยวกับจริยธรรม รวมถึงพฤติกรรมที่ก่อกวนการรักษาและ/หรือสร้างปัญหาในการดำเนินงานแก่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพและบุคลากรอื่น ๆโดยที่ผู้รายงานได้รับการยกเว้นโทษ 

3) สนับสนุนสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นไปตามหลักจริยธรรม และส่งเสริมการปรึกษาหารือกันในประเด็นเรื่องจริยธรรมอย่างเปิดเผยได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการถูกลงโทษ 

4) ให้ความเชื่อมั่นว่ามีการป้องกันการเลือกปฎิบัติในการจ้างงานและให้บริการด้านการดูแลผู้ป่วยในบริบทของข้อกำหนดทางวัฒนธรรมและกฎระเบียบของประเทศ

3.  สนับสนุนความโปร่งใสและความรับผิดชอบในการทำงาน

1) เปิดเผยข้อมูลการเป็นเจ้าของและผลประโยชน์ทับซ้อน 

2) บริการผู้ป่วยด้วยความซื่อสัตย์ 

3) เรียกเก็บค่าบริการอย่างเป็นธรรม จ่ายผลตอบแทนและจัดสรรการชำระเงินโดยยึดการรักษาของผู้ป่วยเป็นหลัก 

4) เสนอทางแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพภายในระยะเวลาที่เหมาะสมเมื่อเกิดข้อขัดแย้งทางจริยธรรม