Sustainability

EN | TH

นวัตกรรมและเทคโนโลยีแห่งความยั่งยืน

 

กลยุทธ์การพัฒนานวัตกรรม 

BDMS ได้พัฒนาเครือข่ายนวัตกรรม ทั้งภายในองค์กร ผ่านการสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรม ควบคู่กับการพัฒนาความร่วมมือกับภาคีนวัตกรรมภายนอกองค์กร ทั้งส่วนงานราชการ หน่วยงานเอกชน และสถาบันการศึกษา ทั้งระดับประะเทศ และระดับนานาชาติ เพื่อร่วมพัฒนานวัตกรรมแบบเปิด แบ่งปันองค์ความรู้ มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับโรงพยาบาลอัจฉริยะ เพื่อการส่งมอบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพสูงสุด และพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสร้างสรรค์นวัตกรรมการแพทย์ของประเทศไทย อันนำไปสู่การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย การสุขภาพที่มีคุณภาพสูงสุดและพัฒนาประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง 

 

Picture 1, รูปภาพ

 

แนวทางการจัดการนวัตกรรมภายใน BDMS มีเป้าหมายเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมภายในองค์กรที่ส่งเสริมต่อการเกิดนวัตกรรมในทุกมิติ ผ่านการสร้างคน โครงสร้างองค์กร และสนับสนุนทรัพยากรด้านนวัตกรรม โดยแนวทางการสร้างนวัตกรรมเริ่มจากการวิเคราะห์ประเด็นปัญหากระบวนการทำงาน (Empathize & Define) เพื่อให้เข้าใจความต้องการและสิ่งที่ต้องการปรับปรุงจากแนวทางการทำงานเดิม จากนั้นจึงเป็นกระบวนการออกแบบนวัตกรรมแก้ไขปัญหาจากกระบวนการทำงานที่พบ (Ideate) เพื่อให้นวัตกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นสามารถตอบสนองความต้องการและสามารถแก้ไขปัญหาได้จริงผ่านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียของกระบวนการทำงานดังกล่าว ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการดำเนินการพัฒนานวัตกรรมอย่างเป็นระบบ (Prototype) ผ่านการร่วมมือกันระหว่างบุคลากรผู้ใช้งานและผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงทดสอบการใช้งานผ่านพื้นที่ทดลอง (Test) เพื่อให้มั่นใจประสิทธิภาพนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นจากการติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ท้ายที่สุดจึงเป็นการนำโครงการนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นไปใช้จริงในกระบวนการทำงานและประเมินผลลัพธ์ประสิทธิภาพการทำงานภายใน BDMS ทั้งนี้ การสนับสนุนการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยให้เกิดนวัตกรรมภายในองค์กร ประกอบด้วย  

  • การลงทุนเพื่อสร้างการเรียนรู้ที่ช่วยสร้างหรือเพิ่มทักษะในการสร้างนวัตกรรม
  • การสร้างพื้นที่พบปะและค้นคว้าเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมของพนักงาน
  • การจัดสรรอัตรากำลังและระดับภาระงานที่ส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมของบุคลากร
  • การประกาศเกียรติคุณแก่พนักงานผู้มีความสามารถด้านนวัตกรรมและส่งเสริมสนับสนุนต่อยอดความสามารถด้านนวัตกรรม

 

BDMS Awards

 

เวทีนวัตกรรม BDMS Awards ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมนวัตกรรมขององค์กร โดย BDMS Awards ถูกจัดขึ้นภายใต้แนวคิดที่แตกต่างกันไปในแต่ละปี ตามบริบทขององค์กร ซึ่งมุ่งเน้นการบูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าสู่ระบบบริการทางการแพทย์ เพื่อสร้างโรงพยาบาลดิจิทัลที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง หมวดหมู่โครงการนวัตกรรมใน BDMS Awards แบ่งออกเป็น 4 หมวดหมู่ดังนี้

1. High Performance Organization การพัฒนาองค์กรให้มีขีดความสามารถสูงสุดอย่างยั่งยืน โดยเน้นการพัฒนาประสิทธิภาพและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กร 

2. Value-Based Healthcare แนวคิด “คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม” ที่เน้นการมอบประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยที่มีคุณค่า พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการดูแลด้วยวิธีที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง 

3. Net-Zero Healthcare การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือศูนย์ อันเป็นการตอบโจทย์ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

4. Social Innovation การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของบุคคลในองค์กรและสังคม โดยมุ่งสร้างคุณค่าร่วมกันอย่างยั่งยืน 

โครงการที่เข้าร่วมการประกวด จำต้องระบุประเด็นสำคัญถึงที่มาในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ไขความท้าทายจากการปฏิบัติงาน และและระบุเหตุผลเชิงระบบที่สนับสนุนการพัฒนาโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการพัฒนานวัตกรรมใน BDMS Awards เน้นการใช้กระบวนการวิเคราะห์และวางแผนที่เป็นระบบ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างผลลัพธ์นวัตกรรมที่ชัดเจน เกิดการประยุกต์ใช้จริง   

ทั้งนี้  BDMS Awards ถือเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง โดยเป็นพื้นที่ที่พนักงานสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างเครือข่ายความร่วมมือ และพัฒนาทักษะที่สำคัญ เช่น การคิดเชิงนวัตกรรม การจัดการโครงการ และการประเมินผล ซึ่งความสำเร็จของโครงการที่เกิดขึ้นไม่เพียงสร้างประโยชน์ให้กับองค์กร แต่ยังสะท้อนถึงความรับผิดชอบของ BDMS ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 

 

BDMS Innovator: Empowering a Network of Innovators to Drive Sustainable Innovation 

 

BDMS ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพพนักงานโดยเฉพาะด้านนวัตกรรม จึงได้จัดตั้ง “BDMS Innovator” เครือข่ายพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมในองค์กร เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็น และความรู้ระหว่างกัน เนื่องจากพนักงานจากหน่วยงานต่างๆ ใน BDMS มีทักษะและจุดเด่นเฉพาะตัว การแบ่งปันข้อมูลและกระบวนการทำงานจึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่ง  

เครือข่ายนวัตกรรมนี้ยังทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลสำคัญ เช่น ข่าวสาร กิจกรรม และโอกาสการพัฒนานวัตกรรม จากระดับองค์กรส่วนกลางไปยังหน่วยงานทั่วประเทศ ช่วยให้เกิดการสื่อสารที่เป็นระบบและยั่งยืนยิ่งขึ้น 

 

BDMS ได้บ่มเพาะศักยภาพนวัตกร จึงจัดกิจกรรมพิเศษที่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร   อันได้แก่ 

BDMS Innovator Workshop & Outing   

การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะขั้นสูงสำหรับนวัตกรต้นแบบ พร้อมสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยการอบรมข้อมูลความรู้ด้านนวัตกรรมที่เป็ฯปัจจุบัน และการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านนวัตกรรม รวมถึงพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร (Effective Communication) และการทำงานร่วมกัน (Teamwork and Collaboration) พร้อมสร้างพลังบวกในการทำงาน โดยกิจกรรมเหล่านี้ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานจากหลากหลายหน่วยงาน และส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมอย่างยั่งยืน โดยในปีนี้มีนวัตกรกว่า 100 คนเข้าร่วมกิจกรรม  

BDMS Innovation Summit & Market  

กิจกรรมการรวมกลุ่มนวัตกร และพื้นที่ัจัดแสดงผลงานนวัตกรรม เพื่อบ่มเพาะโครงการนวัตกรรม และผลักดันให้เกิดการใช้งานจริง ร่วมถึงการเปิดพื้นที่แสดงผลงาน เพื่อให้เกิดการแบ่งปันทักษะการพัฒนานวัตกรรม และเกิดการขยายผลการประยุกต์ใช้ผลงานวัตกรรม ระหว่างเครือข่ายธุรกิจในเครือ BDMS โดยปีที่ผ่านมามีผลงานนวัตกรรมที่เจ้าร่วม มากกว่า 400 โครงการ และมีบุคลากรในเครือข่าย BDMS เข้าร่วมมากกว่า 5,000 คน  

BDMS Innovation Clinic & Incubation  

กิจกรรมการเปิดพื้นที่ให้นวัตกร สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา เพื่อการพัฒนาโครงการนวัตกรรมที่มีศักยภาพ โดยความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาชั้นน้ำระดับประเทศ โดยกิจกรรมจะจัดขึ้นในหลากหลายพื้นที่เครือข่ายโรงพยาบาล BDMS ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย และในประเทศกัมพูชา โดยมีนวัตกรในเครือข่าย BDMS เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก และมีโครงการนวัตกรรมที่ผ่านการบ่มเพาะมากกว่า 400 โครงการ 

โครงการพัฒนานวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยคัดกรองโรคทรวงอก  

(SET Awards 2024 – Business Excellence)

ในปี 2024 BDMS ได้รับรางวัล “SET Awards 2024 ในกลุ่ม Business Excellence ประเภท Best Innovative Company Awards จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดย BDMS นำเสนอโครงการพัฒนานวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยคัดกรองโรคทรวงอก (Teleradiology)  เพื่อช่วยลดอุปสรรคแพทย์รังสีวินิจฉัยที่มีจำนวนบุคลากรที่เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ภาพรังสีไม่เพียงพอในภาคสาธารณสุขไทย ซึ่งมีแพทย์เพียง 0.5คน ต่อประชากร 1,000 คน  ข้อมูลจากแพทย์สภาในปี 2557 พบว่าทั้งประเทศไทยมีแพทย์รังสีวินิจฉัยทั้งสิ้นอยู่จำนวน 1,219 คน  และมีจำนวนเพียง153 คนที่สังกัดอยู่ในโรงพยาบาลรัฐ ทำให้ 80% ของโรงพยาบาลในประเทศไทยไม่มีแพทย์รังสีประจำอยู่ อีกทั้งยังช่วยลดภาระงานของแพทย์ที่มีอยู่จำนวนน้อย ที่ต้องอ่านภาพถ่ายทางการแพทย์ของประชากรไทยทั่วประเทศ แพทย์ต้องทำงานแข่งกับเวลา ต้องอ่านผลจำนวนมากให้ถูกต้องและอย่างแม่นยำ เป็ยการช่วยขยายโอกาสในการเข้าถึงการคัดกรองโรค เพื่อช่วยการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที ซึ่งโครงการดังกล่าว ถือเป็นหนึ่งในความสำเร็จจากความร่วมมือ ระหว่าง BDMS และภาคีเครือข่ายนวัตกรรมทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ สะท้อนถึงศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและสร้างความยั่งยืนด้านการแพทย์ของประเทศ

โครงการพัฒนานวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยคัดกรองโรค (Teleradiology) เป็นการพัฒนาต่อยอดกระบวนการการให้บริการแก่ผู้ป่วย โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิม โดยการนำนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาต่อยอด เป็นผลผลิตจาก

โครงการความร่วมมือระหว่างคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท เพอเซ็ปทรา จำกัด สตาร์ทอัพ ของประเทศไทย และหน่วยบริหาร และจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เพื่อพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยคัดกรองโรคทรวงอก โดย BDMS ได้ให้การสนับสนุนพื้นที่เพื่อการวิจัยทดลองประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพร้อมทั้งการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทการปฏิบัติงานจริงในโรงพยาบาล โดยนวัตกรรมระบบปัญญาประดิษฐ์นี้ ช่วยคัดกรองโรคทรวงอก ให้มีความสามารถในการวินิจฉัยสภาวะของปอดได้มากถึง 8 รอยโรค เช่น วัณโรค หัวใจโต ปอดบวม เป็นต้น และยังมีความแม่นยำในการบ่งชี้สภาวะผิดปกติได้ถึง ร้อยละ 96 ความแม่นยำของ AI สูงถึง 91% ลด False Negative Rate ลงจาก 0.2% เหลือ 0.005% ส่งผลให้ช่วยลดภาระงานของแพทย์ได้มากกว่าร้อยละ 40 เพิ่มประสิทธิภาพการอ่านผลได้ถึง 287.5 เท่า ที่สำคัญระบบ AI นี้ ยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบของโรงพยาบาล ช่วยป้องกันข้อมูลของผู้ป่วยให้ปลอดภัย ระบบปัญญาประดิษฐ์ อ่านผ่านรังสีมาแล้ว มากกว่า 4 ล้านภาพ  ทำงานร่วมกับโรงพยาบาลภาครัฐ และภาคเอกชน ประยุกต์ใช้แล้วใน 90 โรงพยาบาลทั่วประเทศ และใน 15 โรงพยาบาลเครือ BDMS  

A screenshot of a phone

AI-generated content may be incorrect.

ด้านสังคม โครงการพัฒนานวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยคัดกรองโรค (Teleradiology) นี้ยังช่วยให้ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงการวินิจฉัยโรคอย่างแม่นยำ ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มโอกาสการรักษาโรคในระยะเริ่มต้น เพิ่มมาตรฐาน ในการวินิจฉัยรักษาโรคโดยรวม  ลดจำนวนผู้ป่วย ลดอัตราการเสียชีวิตจากการเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที สามารถนำไปใช้ในโครงการคัดกรองวัณโรคในชุมชนแออัด และโรงพยาบาลสนามช่วงโควิด-19  ด้านสิ่งแวดล้อม โครงการฯ ช่วยลดการเดินทางของแพทย์และผู้ป่วยด้วยระบบ Teleconsultation ลดการใช้ฟิล์มเอกซเรย์และกระดาษรายงานผล ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์รวมกว่า 1,280 ล้านกิโลกรัม CO₂e อีกทั้งยังมีการใช้ระบบ Cloud Computing ลดการติดตั้งอุปกรณ์สิ้นเปลือง

A doctor and patient in a hospital

AI-generated content may be incorrect.

นอกเหนือจากนี้ โครงการพัฒนานวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยคัดกรองโรค (Teleradiology) ยังสร้างคุณค่าทางธุรกิจให้แก่องค์กร สร้างรายได้แล้วกว่า 27.5 ล้านบาท เพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการวินิจฉัยได้ตลอด 24 ชั่วโมง และยังสามารถขยายบริการไปยังโรงพยาบาลในพื้นที่ห่างไกล และขาดแคลนแพทย์รังสีวิทยา โดยการต่อยอดร่วมกับระบบการแพทย์ทางไกล ได้แก่ Teleradiology รวมถึงลดการพึ่งพาแพทย์เฉพาะทางที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อีกด้วย

ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม ผ่านการสร้างเครือข่ายแบบรอบด้านของ BDMS เพื่อตอบสนอง

ความต้องการของผู้ป่วยในยุคดิจิตอลได้อย่างทั่วถึง พร้อมทั้งส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนในทุกมิติ อันจะเป็นอีกก้าวสำคัญที่ช่วยพาองค์กรและภาคสาธารณสุขไทยก้าวข้ามความท้าทายของโลกยุคใหม่อย่างมั่นคงและยั่งยืน

 อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่