EN | TH
การพัฒนาศักยภาพและรักษาทรัพยากรบุคคล
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
BDMS มุ่งมั่นในการดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล โดยสรรหาบุคลากรที่มีศักยภาพ เสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร เน้นการดูแลสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงานเหมาะสม ยุติธรรมและเป็นไปตามกฎหมาย รวมถึงพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถบุคลากรอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง พร้อมทั้งสร้างทิศทางความก้าวหน้าในวิชาชีพให้ชัดเจนและผลักดันให้ไปสู่เป้าหมายขององค์กร ดูแลความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากรที่มีคุณค่าต่อพนักงาน พร้อมคำนึงถึงคุณภาพชีวิตและสนับสนุน ส่งเสริมให้กำลังใจ สร้างสภาพแวดล้อมตลอดจนวัฒนธรรมการทำงานที่มีความสุขกาย สุขใจ ปลอดภัยในการทำงานกับองค์กร รวมทั้งสร้างวัฒนธรรมองค์กรในการเคารพความหลากหลาย ยอมรับความแตกต่างซึ่งกันและกัน
การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ศักยภาพของบุคลากรถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนกลยุทธ์ของ BDMS ซึ่งมุ่งเน้นการส่งมอบบริการด้านสุขภาพที่เป็นเลิศ โดย BDMS ได้วางนโยบายพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร โดยี่มุ่งเน้นให้บุคลากรได้เรียนรู้และเพิ่มพูนทักษะความรู้ความสามารถให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร พร้อมทั้งสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่ที่เปลี่ยนแปลงเพื่อความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและความยั่งยืน สนับสนุนการเรียนรู้เทคนิคต่างๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการทำงานของบุคลากร ให้มีโอกาสก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ อีกทั้งเป็นการพัฒนาให้พนักงานสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เป็นผลทำให้ช่วยส่งเสริมบรรยากาศการทำงานและสร้างเสริมวัฒนธรรมที่ดีในองค์กร
การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรของ BDMS
BDMS ดำเนินนโยบายการฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน โดยการพัฒนาขีดความสามารถของพนักงาน ทั้งสายการรักษา (Clinical) และสายงานสนับสนุน (Non-Clinical) ในโรงพยาบาล รวมถึงพนักงานใหม่ พนักงานคู่สัญญา และพนักงานชั่วคราว เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจต่อทิศทางการทำงานขององค์กรและระบบคุณภาพของโรงพยาบาล รวมทั้งพัฒนาความรู้ความสามารถต่องานที่รับผิดชอบ เพื่อให้มั่นใจว่าการฝึกอบรมและพัฒนาจะได้รับการปรับให้เข้ากับคุณค่าและ กลยุทธ์ขององค์กร และก่อให้เกิดทักษะ ความรู้และความชำนาญในการทำงานใหม่ๆ ตามการเปลี่ยนแปลงของเศรฐกิจ เทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมต่อบุคลากรทางการแพทย์และบุคลากรทั่วไป
การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานของ BDMS
การปฐมนิเทศพนักงานใหม่ (General Orientation)
เพื่อรับทราบข้อมูลทิศทาง วิสัยทัศน์และพันธกิจ ค่านิยมองค์กร มาตรฐานการบริการ กฎระเบียบ หลักการบริการ ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และระบบคุณภาพของโรงพยาบาล
การปฐมนิเทศพนักงานใหม่ในหน่วยงาน (Unit Orientation)
เพื่อรับทราบพันธกิจของหน่วยงาน ขอบเขตการให้บริการ (Scope of Service) นโยบายและแนวทางในการปฏิบัติงาน
การฝึกอบรมภาคบังคับ (Mandatory Training)
ครอบคลุมกลยุทธ์และทิศทางขององค์กร ระบบคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพ เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วย การดับเพลิงขั้นพื้นฐาน การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และหลักสูตรที่เกี่ยวข้องสำหรับพนักงานวิชาชีพ รวมถึงความรู้ด้านกฎหมายและข้อบังคับที่สำคัญ
การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพ (Quality Improvement Training)
เพื่อป้องกันอุบัติการณ์ ตามข้อมูลการติดตามอุบัติการณ์ด้านคุณภาพและความปลอดภัย การร้องเรียนของผู้ป่วย และการเปลี่ยนกระบวนการทำงานหรือเทคโนโลยีใหม่ รวมทั้งความสามารถด้านการใช้งานภาษาอังกฤษ และ จัดการฝึกอบรม และการทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติความรู้ในการปฏิบัติงานเพื่อการดูแลผู้ป่วยในแต่ละระดับและตำแหน่งงาน เพื่อพนักงานสามารถเติบโตก้าวหน้าได้ในสายงานและให้บริการการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
การฝึกอบรมด้านความรู้และทักษะการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน (ESG Training and Upskill)
เพื่อให้ความรู้ด้านเศรษฐกิจ (Governance) สังคม (Social) สิ่งแวดล้อม (Environment)
โครงการที่เกี่ยวข้อง (Related Training)
เช่น การให้ทุนการศึกษากับพนักงานเพื่อขยายความรู้และความสามารถในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและหน่วยงาน รวมทั้งความสามารถในการดูแลผู้ป่วยในเพื่อสร้างคุณค่าให้ผู้ป่วย
การจูงใจและรักษาทรัพยากรบุคคล
BDMS ตระหนักถึงเรื่องการจูงใจ การรักษาทรัพยากรบุคคล ตลอดจนการสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จ จึงมีแนวนโยบายและกระบวนการดำเนินงานเพื่อรักษาพนักงานให้ทำงานกับองค์กรให้ยาวนานที่สุด โดยกำหนดแนวทางการประเมินผลงานของพนักงานที่มีหลักเกณฑ์ชัดเจน ดูแลผลประโยชน์ของพนักงานให้เหมาะสม ยุติธรรม และคุ้มค่า โดยสำรวจผลตอบแทนในตลาดแรงงาน เพื่อเปรียบเทียบให้โครงสร้างที่ใช้ในปัจจุบันสามารถแข่งขันกับตลาดแรงงานอยู่เสมอ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการทบทวนและพิจารณาค่าตอบแทนและสวัสดิการของบุคลากรที่สอดคล้องตามผลดำเนินงานทั่วทั้งองค์กร รวมถึงการรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพและจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งงาน และกำหนดให้มีการติดตามระดับความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรอย่างต่อเนื่อง
ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน
BDMS กำหนดระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management System) ที่เป็นระบบและมีมาตรฐานเดียวกันเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรมทั่วทั้งองค์กร
ขั้นตอนการบริหารผลปฏิบัติงาน
- ถ่ายทอดเป้าหมายและรายละเอียดตัวชี้วัดตามกลยุทธ์และเป้าหมายของบริษัทตั้งแต่ระดับผู้บริหารสูงสุดจนถึงระดับหัวหน้าหน่วยงาน
- ทบทวนผลงานร่วมกับพนักงานรายไตรมาสและรายงานผลให้ผู้บริหารระดับสูง เพื่อเสนอแนวทางปฏิบัติให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลบรรลุผลตามเป้าหมาย
- ผู้บังคับบัญชาประเมินผลการปฏิบัติงานตามสายงานช่วงสิ้นปีเพื่อพิจารณาผลตอบแทนและแนวทางปฏิบัติให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลบรรลุผลตามเป้าหมาย
- ฝ่ายทรัพยากรบุคคลประมวลผลลัพธ์เทียบกับเป้าหมาย แล้วจัดสรรหาผลตอบแทนประจำปีและการปรับเงินเดือนร่วมกับผู้บังคับบัญชา
โดยกำหนดแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถเป็นรายบุคคล ดังนี้
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กร
- ประกอบการพิจารณาเลื่อนขั้น / โอนย้าย /แต่งตั้ง /ปรับระดับพนักงานตามขีดความสามารถ
- ประกอบการพิจารณาผลตอบแทนให้สอดคล้องกับผลงาน
- นำผลลัพธ์ไปใช้ในการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของพนักงาน
Multidimensional performance appraisal : การประเมินผลการปฏิบัติงานหลายมิติ
BDMS ริเริ่มระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน กำหนดระบบที่เป็นมาตรฐานและมีความยุติธรรมสำหรับบุคลากรทั้งองค์กร โดยการประเมินศักยภาพในรูปแบบ 360 องศา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการให้รางวัล เสริมสร้างการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน กำหนดแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงาน การเลื่อนตำแหน่งและการจ่ายค่าตอบแทน ซึ่งหลักการประเมินพิจารณาจากความสามารถหลัก รวมถึงความสามารถในการเป็นผู้นำและความรับผิดชอบในการทำงาน
โดยวัตถุประสงค์สูงสุด คือการส่งมอบบริการและคุณค่าที่เป็นเลิศให้กับผู้รับบริการ ซึ่งการประเมินผลปฏิบัติงานจะพิจารณาจากดัชนีชี้วัดผลงาน (Key Performance Indicator: KPI) ขีดความสามารถหลัก (Core Competencies) ขีดความสามารถในการบริหารงาน (Leadership Competencies) โดยขอบเขตขีดความสามารถหลัก (Core Competencies) และความเป็นเลิศอยู่บนรากฐานของจริยธรรมซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาองค์กร จรรยาบรรณการดำเนินธุรกิจ และความซื่อสัตย์ทางวิชาชีพ เป็นสิ่งที่บุคลากรทุกคนของ BDMS ยึดถือและปฏิบัติ ตลอดจนสร้างสรรค์วัฒนธรรมทางวิชาชีพอย่างมีธรรมภิบาลและการให้บริการบนความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานระดับสากล
การประเมินผลแบบทีม : Team-based performance:
BDMS กำหนดการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบทีมในหน่วยงานต่างๆ ขององค์กร เช่น หน่วยงานนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อยกระดับและผลักดันการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นการทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยการกำหนดเป้าหมายดัชนีชี้วัดผลงาน (KPIs) สำหรับแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้มั่นใจว่าทีมงานมีแรงจูงใจในการสรรค์สร้างนวัตกรรมในการพัฒนาองค์กร กำหนดการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานรายไตรมาสหรือรายปีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบทันท่วงที: Agile conversations
โรงพยาบาลกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ กำหนดการประเมินผลในรูปแบบการพูดคุย สื่อสาร แลกเปลี่ยนปัญหาและความคิดเห็นแบบเรียลไทม์ภายในองค์กรของผู้บริหารระดับสูงจนถึงระดับหน่วยงาน ผ่านโครงการ“Huddle Policy for Nurse” เป็นการดำเนินการโดยการจัดให้มีผู้บริหารและตัวแทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมในช่วงเช้า (Morning Brief) เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยมีแนวคิด 4 ด้าน ดังนี้
1. การนำประเด็นปัญหาต่าง ๆ มาพิจารณาไตร่ตรอง (Reflection of issues)
2. การเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น (Readiness of actions)
3. การชื่นชมผู้ที่ทำความดี (Recognition of employees)
4. การนำข้อมูลหรือแนวทางการแก้ปัญหาจากผู้บริหารกลับมาสื่อสารให้ทีมทราบและนำไปใช้แก้ปัญหา (Return of solution)
โดยแบ่งโครงสร้างตามการจัดทำ Huddle เป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับแผนก (Unit Huddle) , ระดับโรงพยาบาล (Hospital Huddle) และ ระดับบริหาร (Administration Huddle) กิจกรรมนี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารและการแก้ไขปัญหาข้ามสายงาน รวมถึงการสื่อสารแบบบนลงล่าง (Downward Communication) และการสื่อสารแบบล่างขึ้นบน (Upward Communication) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพ (Talent Management Program)
BDMS ตระหนักถึงการบริหารจัดการบุคลากรที่มีความสามารถโดดเด่นและเล็งเห็นถึงการให้ความสำคัญต่อกลุ่มคนที่มีส่วนสำคัญในการสร้างผลงานที่ดีและสร้างเสริมความก้าวหน้าให้แก่องค์กร จึงจัดทำโครงการการบริหารจัดการผู้มีความสามารถคนเก่งในองค์กร (Talent Management Program) เพื่อสร้างความพร้อมให้เป็นผู้นำและการมอบหมายให้รับผิดชอบภารกิจสำคัญขององค์กร เป็นการสร้างผลงานที่ดีและเสริมสร้างความก้าวหน้าให้องค์กร เตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยโครงการดังกล่าวประกอบด้วย
การสรรหาและคัดเลือก บุคลากรที่มีศักยภาพขององค์กร
ผู้บังคับบัญชาคัดเลือกพร้อมทำการประเมินขีดความสามารถตามหลักเกณฑ์ ก่อนที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะสรุปคะแนนและนำเสนอต่อผู้บริหารระดับสูง
การพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มมากขึ้น
- Individual Development Plan Coaching เริมจากการประเมิน 360 องศา เพื่อให้ทราบจุดเด่นและจุดด้อยรายบุคคลและนำผลดังกล่าวไปสร้างแผนพัฒนาสำหรับแต่ละบุคคล
- Project Management มอบหมายโครงการให้ทีมบุคลากรที่มีศักยภาพร่วมกันจัดทำ เพื่อหาผลลัพธ์หรือทางเลือกเพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพในการทำงานเป็นทีมภายในระยะเวลาและข้อจำกัดที่กำหนดให้
การรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพ (Talent Management Program)
- การได้มาและรักษาไว้ซึ่งบุคลากรที่มีศักยภาพสูง ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจในระยะยาว
- วัฒนธรรมและค่านิยมองค์กรได้รับการสืบทอดจากผู้นำไปยังผู้บริหารในระดับรองลงมา
- การใช้ทรัพยากรทางการบริหารที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แผนการสืบทอดตำแหน่งงาน (Succession Plan)
BDMS ได้คัดเลือกและพัฒนาพนักงานที่มีศักยภาพให้มีความพร้อมที่จะเติบโตในตำแหน่งงานที่องค์กรต้องการ โดยผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินศักยภาพ วางแผนพัฒนาขีดความสามารถ และติดตามประเมินผล พร้อมทั้งมีระยะเวลาในการทบทวนและสรรหาผู้สืบทอดตำแหน่งในทุก ๆ ปี เพื่อให้มีความพร้อมในการเป็นผู้สส่งมอบตำแหน่งในกรณีที่มีการเกษียณอายุของผู้บริหาร การขยายงาน หรือการลาออก โดยกำหนดแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถเป็นรายบุคคล ดังนี้
- ประเมินและวางแผนศักยภาพตามขีดความสามารถของพนักงานรายบุคคลที่จะเป็นผู้นำในอนาคต (Successor)
- การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพในการเป็นผู้นำ
- การหมุนเวียนงาน (Rotation) เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมจากหน่วนงานที่เกี่ยวข้อง
- การมอบหมายงานโครงการพิเศษ
- การส่งดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การวางแผน Competency ของพนักงานในแต่ละระดับ(Level) เพื่อกำหนดความรู้ ความสามารถและทักษะที่จำเป็นต้องมีอย่างชัดเจน และให้การสนับสนุนจัดการให้ความรู้ และการทดสอบ เพื่อให้พนักงานสามารถเติบโตได้ตามสายงานและมีความรู้ ความสามารถที่เหมาะสม
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงาน ครอบครัวพนักงาน
BDMS กำหนดสวัสดิการด้านสุขภาพและด้านการเงิน รวมถึงส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี ด้วยความเป็นธรรมและเหมาะสมให้กับพนักงานประจำ โดยมีตัวอย่างที่สำคัญ ดังนี้
นอกเหนือจากสวัสดิการสิทธิประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้น BDMS ยังปรับใช้ชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น (Flexible Working Hours) , นโยบายการทำงานจากที่บ้าน (Work-From-Home Policy) และทางเลือกการทำงานนอกเวลา (Part-Time Working) เพื่อส่งเสริมความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิผลจำนวนงานและประสิทธิภาพการทำงาน สวัสดิการสิทธิประโยชน์นี้ใช้ได้กับพนักงานในสายงานเฉพาะ ซึ่งไม่จำเป็นต้องอยู่ที่สถานที่ทำงานหรือสามารถทำงานนอกเวลาได้ เช่น ทีมการตลาดดิจิทัล ทีมนวัตกรรม ทีมพัฒนาเทคโนโลยีอื่นๆ และเจ้าหน้าที่รับสายโทรศัพท์ให้บริการลูกค้า เป็นต้น