Sustainability

EN | TH

การเคารพสิทธิมนุษยชน

การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของ BDMS  

BDMS ตระหนักถึงความรับผิดชอบในการส่งเสริมและเคารพสิทธิมนุษยชนของพนักงาน ซัพพลายเออร์ พันธมิตรทางธุรกิจ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้สอดคล้องกับนโยบายสิทธิมนุษยชนขององค์กร โดยประกาศนโยบายและมุ่งมั่นปฏิบัติตามหลักการแนวปฏิบัติสากล และหลักกฎหมายในประเทศ อาทิ หลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) ปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน (The ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) ตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ (International Bill of Human Rights) และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นต้น โดยบริษัทฯมุ่งมั่นในหลักการคุ้มครองพนักงานไม่ให้ถูกเลือกปฏิบัติโดยเด็ดขาดในทุกกรณี และยึดหลักการส่งเสริมความเท่าเทียมในทุกด้านของการดำเนินธุรกิจ เพื่อบรรลุพันธกิจในการให้บริการทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับในระดับมาตรฐานสากล  

กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) ของ BDMS  แบ่งกระบวนการที่ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ 

สามารถดูรายละเอียดนโยบายสิทธิมนุษยชนของ BDMS เพิ่มเติมที่ : https://investor.bangkokhospital.com

BDMS ให้ความสำคัญกับการเคารพสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียและผู้ถือสิทธิที่อาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินธุรกิจ โดยดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) เป็นไปตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) ด้วยเหตุนี้ BDMS จึงจัดดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Risk Assessment) ในปี 2565 เพื่อระบุความเสี่ยงและจัดทำแผนบรรเทาผลกระทบอย่างต่อเนื่อง และให้มั่นใจว่าบริษัทมีกระบวนการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนในหน่วยธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพของบริษัท ทั้งในขอบเขตการดำเนินกิจกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดย BDMS กำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบสำหรับความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่มีความเสี่ยงในระดับสูงมาก สูง และปานกลางเป็นประเด็นสำคัญ กระบวนการนี้จะพิจารณาผู้ทรงสิทธิ 

และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับผลกระทบ (รวมถึงพนักงาน ลูกค้า และชุมชน) และในกลุ่มเปราะบาง (รวมถึงผู้หญิง เด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ ชนกลุ่มน้อย แรงงานข้ามชาติ คนพื้นเมือง และ LGBTQ+ โดย BDMS ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบทุกๆ 3 ปี ครอบคุลมทุกหน่วยธุรกิจขององค์กร พร้อมทั้งติดตามความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนระดับปานกลางและต่ำในระดับองค์กรและตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในขณะเดียวกัน และคาดหวังว่าการประเมินสิทธิมนุษยชนอย่างครอบคลุมจะนำไปสู่การบริหารความเสี่ยงและผลกระทบที่เหมาะสม พร้อมทั้งเปิดเผยผลการประเมินอย่างโปร่งใส  

BDMS ได้ประเมินประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนและผลกระทบโดยมุ่งเน้นในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานขององค์กร 

ประเด็นความเสี่ยง

ผู้ถือสิทธิ์ได้รับผลกระทบ

พนักงาน

ลูกค้า 

ชุมชน  

คู่ค้า

ความเท่าเทียมกันทางเพศ 

   
การเลือกปฏิบัติ ในกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+) 

   
การเลือกปฏิบัติในการสรรหาบุคลากร 

   
การล่วงละเมิดทางเพศ 

  
ความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากรและครอบครัว 

   
สภาพการทำงาน 

   
ความหลากหลาย ความเสมอภาคและการอยู่ร่วมกัน 

   
ความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ  

 
การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัยของข้อมูล  

  
ความปลอดภัยของลูกค้าและผู้ป่วย และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ 

 

มลพิษและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม   

การระรานทางไซเบอร์ 

   
การค้ามนุษย์ 

   
เสรีภาพทางสมาคม 

   
สิทธิในการร่วมเจรจาต่อรอง  

   
แรงงานบังคับ 

   
การจ่ายค่าตอบแทนที่เท่าเทียม 

   

 

ประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญและมาตรการในการควบคุมความเสี่ยง  

ประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญของ BDMS  

  1. ความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากรและครอบครัว
  • นโยบายจัดห้องให้นมบุตรในสถานที่ปฏิบัติงานของ BDMS ทุกแห่ง  
  • สนับสนุนการลาเพื่อดูแลบุตรหลังคลอดของพนักงานชาย 

2. ความหลากหลาย ความเสมอภาคและการอยู่ร่วมกัน

บรรจุเป็นหลักสูตรการฝึกอบรมภาคบังคับ  

3. ความปลอดภัยของลูกค้าและผู้ป่วย และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ 

ตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วย รวมถึงนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยของลูกค้าและยกระดับประสบการณ์ด้านบริการที่เป็นเลิศแก่ผู้รับบริการและผู้ป่วย 

4. มลพิษและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

จัดทำระบบการส่งต่อสำหรับกรณีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  

 

ประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญของ คู่ค้า 

  1. การจัดซื้อจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ  
  • กำหนดหัวข้อดังกล่าว ในการประชุมร่วมกับคู่ค้า (เพื่อการอบรมและการสร้างความตระหนักรู้)  
  • เพิ่มหัวข้อสนับสนุนให้คู่ค้าปฏิบัติตามหลักการจัดซื้อจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ  
  • ทบทวนข้อกำหนดในการตรวจสอบคู่ค้า 

2. ผลกระทบจากมลพิษและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อชุมชน 

  • กำหนดหัวข้อดังกล่าวในการประชุมร่วมกับคู่ค้า(เพื่อการอบรมและการสร้างความตระหนักรู้)  
  • จัดทำระบบการส่งต่อสำหรับกรณีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

3. ความปลอดภัยของลูกค้าและคนไข้ และความปลอดภัยของสินค้า 

  • กำหนดหัวข้อดังกล่าวในการประชุมร่วมกับคู่ค้า  
  • ทบทวนเกณฑ์สำหรับการตรวจสอบและคัดเลือกคู่ค้าที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัย  

 

ในปี 2566 BDMS จัดการสื่อสารหลักการด้านสิทธิมนุษยชน และการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน พร้อมทั้งประเด็นความเสี่ยงและมาตรการป้องกันด้านสิทธิมนุษยชนในระดับองค์กร รวมถึงยกตัวอย่างการจัดการความเสี่ยง และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจไปยังพนักงาน คู่ค้า และผู้รับเหมา เพื่อให้เข้าใจและนำข้อมูลไปดำเนินการกำหนดแนวปฏิบัติ และวางมาตรการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนในองค์กรโดยดำเนินการเป็นประจำทุกปี  

จากการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน BDMS ได้ดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการ  100% 

 

กระบวนการจัดการข้อร้องเรียนและการเยียวยา ด้านสิทธิมนุษยชน 

BDMS มุ่งมั่นในการจัดให้มีกลไกข้อร้องทุกข์ด้านสิทธิมนุษยชนที่มีประสิทธิภาพ และเคารพสิทธิของผู้ร้องเรียนและคุ้มครองบุคคลผู้แจ้งเบาะแสตลอดกระบวนการการร้องทุกข์ ข้อร้องเรียนและการเข้าถึงการเยียวยา และมุ่งมั่นที่จะดำเนินการสอบสวนสำหรับทุกกรณีที่ได้รับรายงาน และรับประกันการปกป้องความเป็นส่วนตัวและการรักษาความลับของผู้รายงานในการตอบสนองและจัดการข้อร้องเรียนอย่างโปร่งใส ตลอดทั้งการยกระดับกรณี การสอบสวน การดำเนินการแก้ไข และกระบวนการจัดการกรณีอื่น ๆ การดำเนินการที่ BDMS จะดำเนินการต่อผู้กระทำผิดนั้นขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของความผิด (ตั้งแต่ตักเตือนไปจนถึงดำเนินคดีทางกฎหมาย) สำหรับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะตรวจสอบข้อเท็จจริง ติดตามและรายงานเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนภายในระยะเวลาอย่างน้อย 7 วัน ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงใดๆ การสอบสวนจะถูกดำเนินการทันที 

ในปี 2566 BDMS ไม่มีการเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนใดๆ ดังนั้นจึงไม่มีการดำเนินการแก้ไข

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 

[email protected]

เว็บไซต์ 

www.bdms.co.th

โทรศัพท์ 

0-2755-1911-2