Sustainability

EN | TH

สุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากร

BDMSกำหนดระบบและแนวทางการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับบุคลากรทุกคนตาม มาตรฐานของสถานให้บริการด้านสุขภาพ Hospital Accreditation (HA) และ Joint Commission International (JCI) รวมถึงข้อกำหนดกฎหมายด้านอาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้องซึ่งครอบคลุมทุกกิจกรรมทางธุรกิจ BDMS ได้รับการรับรองมาตรฐานตามมาตรฐาน JCI - SQE 8.2 (Staff Health and Safety) ซึ่งรับประกันการให้บริการที่เน้นที่การดูแลสุขภาพทางกายและทางใจของพนักงานและการทำงานภายใต้ความปลอดภัย โดยแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) ในทุกสถานประกอบการ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยในระดับปฏิบัติการ รวมถึงทำหน้าที่ประเมินความเสี่ยงและกำหนดมาตรการในการดำเนินงานด้านอาชีว อนามัยและความปลอดภัยในทุกกิจกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านสุขภาพ ตลอดจนติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม โดย BDMS มุ่งมั่นและให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพและความปลอดภัย ตลอดจนของพนักงาน คู่ค้าและผู้มีส่วนได้เสีย ในปี 2566 ได้ทบทวนนโยบายฉบับนี้โดยมุ่งส่งเสริมสุขภาพองค์รวมของพนักงานผ่านการดำเนินการโครงการสุขภาพและมุ่งมั่นในการส่งเสริมและสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีลดการบาดเจ็บและเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงานอันจะนำไปสู่เป้าหมายจำนวนผู้เสียชีวิตเนื่องจากการทำงานและจำนวนการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานเนื่องจากการทำงานเป็นศูนย์

นอกจากนี้บริษัทยังสื่อสารด้านอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมการทำงาน และให้รับทราบถึงนโยบาย แนวปฏิบัติต่างๆรวมถึงมีการส่งข่าวสารผ่านช่องทางอีเมลขององค์กรและบนช่องทางออนไลน์ เช่น youtube ในช่อง BDMS People ด้วย นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญแก่คู่ค้าและผู้รับเหมาในการปฏิบัติตามมาตรฐานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบริษัทฯ โดยคัดเลือกคู่ค้าและผู้รับเหมาที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและมีระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยนำหลักเกณฑ์และข้อกำหนดด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มาใช้ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เกณฑ์เหล่านี้อาจรวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบ การฝึกอบรมด้านความปลอดภัย และการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถลดความเสี่ยง ป้องกันอุบัติเหตุในสถานที่ทำงาน และสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นตลอดห่วงโซ่อุปทาน

ปรึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานได้ที่ 

การประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 

BDMS กำหนดแนวทางการประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมถึงสภาพแวดล้อมในการทำงานตามข้อกฎหมายเพื่อกำหนดมาตรการการจัดการและแนวทางการเฝ้าระวังทางด้านสุขภาพแก่พนักงาน โดยแผนกอาชีว อนามัย (Occupational Health Center Center) ร่วมกับแผนกอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม (Safety Occupational Health & Environment) ดำเนินการตรวจสอบภายใน ซึ่งรวมถึงการทบทวนข้อมูล ส่งแบบสำรวจข้อมูลเบื้องต้น สำรวจพื้นที่ดำเนินงาน และดำเนินการสรุปผล เพื่อระบุสิ่งคุกคามด้านสุขภาพ ค้นหาและประเมินความเสี่ยงจากการทำงานในแผนกต่าง ๆ โดยพิจารณาจากโอกาสของการเกิดอันตราย โอกาสการรับสัมผัส และระดับความเป็นอันตราย เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการ ป้องกัน ควบคุม หรือแก้ไขต่อไป

 

แผนปฏิบัติการที่บูรณาการเพื่อจัดการกับความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจากการปฏิบัติการทั้งหมดประกอบด้วย:

  • ระบุความเสี่ยงและจัดลำดับความสำคัญตามความรุนแรงและความน่าจะเป็นที่จะเกิด (สูง กลาง ต่ำ)
  • จัดทำแผนปฏิบัติการครอบคลุมมาตรการป้องกัน บรรเทา ตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  • กำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณเพื่อติดตามและประเมินความก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายที่วัดผลได้
  • ทบทวนและติดตามระบบการจัดการเพื่อให้มั่นใจว่ามีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและรักษาสุขภาพและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน

การฝึกอบรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 

BDMS ดำเนินการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอแก่พนักงานทุกคนในด้านต่างๆ เพื่อลดเหตุการณ์ด้านสุขภาพและความปลอดภัย 

  • โครงการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ - โรงพยาบาลจัดให้มีการฝึกอบรมการปฏิบัติงานและการฝึกจำลอง รวมทั้งทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติงานในกรณีที่พนักงานได้รับบาดเจ็บจากเหตุเพลิงไหม้ เช่น การอพยพในสถานการณ์ฉุกเฉิน และการดับเพลิงด้วยถังดับเพลิง
  • การใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างปลอดภัย – การฝึกอบรมโดยละเอียดเกี่ยวกับวิธีการใช้งานอุปกรณ์ รวมถึงคำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติด้านความปลอดภัย
  • สุขอนามัยในสถานที่ทำงาน - หนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของการฝึกอบรมสำหรับโรงพยาบาลคือการรักษาสถานที่ทำงานที่ถูกสุขลักษณะ นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมการป้องกันการติดเชื้อเพื่อให้แน่ใจว่ามีเทคนิคการฆ่าเชื้อที่เหมาะสมและการกำจัดวัสดุที่ปนเปื้อน หัวข้ออื่นๆ เช่น ความสำคัญของสุขอนามัยของมือ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) และความปลอดภัยของผู้ป่วย