Sustainability

EN | TH

การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

 

BDMS ดำเนินการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง สำหรับการประเมินสาระสำคัญ ในปี 2566 ได้ประเมินครอบคลุมการวิเคราะห์แบบองค์รวมทั้งปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลให้เกิดผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน ตามที่กำหนดในกรอบการรายงานความยั่งยืน (GRI) หัวข้อด้านความยั่งยืนที่สำคัญของ BDMS ได้รับการระบุตามหลักการ 'Double Materiality' ซึ่งพิจารณาทั้งผลกระทบที่เป็นสาระสำคัญ (ผลกระทบของ BDMS ต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม) ตลอดจนความผลกระทบต่อประเด็นสำคัญด้านการเงิน (ผลกระทบของประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมต่อผลการดำเนินงานทางการเงินและมูลค่าทางธุรกิจของ BDMS) มุมมองที่ครอบคลุมนี้ทำให้เข้าใจถึงบทบาทและความรับผิดชอบของ BDMS ในการแก้ไขปัญหาด้านความยั่งยืนและสนับสนุนการสร้างคุณค่าในระยะยาวให้กับสิ่งแวดล้อมและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยประเด็นสำคัญข้างต้น ได้รับการพิจารณาจากผู้บริหารระดับสูงฝ่ายนวัตกรรมองค์กรยั่งยืน  พร้อมได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการเพื่อดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

 

ความรับผิดชอบของคณะกรรมการในการประเมินประเด็นสำคัญ 

คณะกรรมการพัฒนาความยั่งยืนองค์กรของ BDMS ได้มอบหมายให้ผู้บริหารระดับสูงด้านการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร ดำเนินการประเมินประเด็นสำคัญประจำปี และรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแล ตรวจสอบ และอนุมัติผลการประเมินประเด็นสำคัญ 

 

การบูรณาการประเด็นสำคัญในการบริหารความเสี่ยง 

เพื่อให้กระบวนการระบุความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงมีความครอบคลุมมากขึ้น BDMS ได้รวบรวมการประเมินประเด็นที่มีนัยสำคัญที่สำคัญเข้ากับกระบวนการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร เช่น คุณภาพการบริการและความปลอดภัยของผู้ป่วย ความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องข้อมูล สุขภาพและความปลอดภัย การพัฒนาศักยภาพและรักษาทรัพยากรบุคคล การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการประเมินสาระสำคัญทางการเงิน BDMS ได้นำเกณฑ์ความเสี่ยงทางการเงินมาใช้ในการพิจารณาระดับความรุนแรงของผลกระทบทางการเงินแต่ละหัวข้อที่มีนัยสำคัญต่อบริษัท จากการประเมิน Double Materiality ทำให้ BDMS สามารถตรวจสอบความเสี่ยงที่สำคัญขององค์กรและดำเนินกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงองค์กรที่มีประสิทธิผล จนถึงจุดที่มีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับมาตรการบรรเทาผลกระทบอย่างเหมาะสม 

กระบวนการและขั้นตอนการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน มีดังนี้ 

1. การระบุประเด็นสำคัญ 

  • นําประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของปีก่อนหน้ามาพิจารณาทบทวน
  • ศึกษาและพิจารณาเทียบเคียงกับประเด็นด้านความยั่งยืนระดับประเทศและระดับโลกอย่าง Global Reporting Initiative (GRI) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ดัชนีความยั่งยืนของดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Index) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนของยุโรป (ESRS)
  • ศึกษาและพิจารณาประเด็นความยั่งยืนที่โรงพยาบาลชั้นนําระดับประเทศและระดับโลกให้ความสำคัญ
  • ศึกษาและพิจารณาเทียบเคียงกับผลกระทบต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของกลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการด้านสุขภาพ
  • นําประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนที่ผ่านการกลั่นกรองไปสอบถามความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียในขั้นตอนถัดไป

2. การจัดลำดับความสำคัญ 

  • ระบุผลกระทบเชิงบวก/เชิงลบที่เกิดขึ้นจริงและที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงความเสี่ยง/โอกาสผ่านการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง
  • ประเมินสาระสำคัญของผลกระทบเชิงบวก/เชิงลบที่เกิดขึ้นจริงและที่อาจเกิดขึ้น และความเสี่ยง/โอกาสสำหรับการดำเนินงานของตนเองและตลอดห่วงโซ่คุณค่า
  • จัดลำดับความสำคัญเรื่องความยั่งยืนตามความรุนแรง (ขนาดของผลกระทบ ขอบเขตของผลกระทบ ความสามารถในการแก้ไขผลกระทบ) และความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น (ความถี่/ความน่าจะเป็นของผลกระทบ)
  • จัดทำแบบสำรวจ/แบบสอบถามเพื่อประเมินผลกระทบที่มีสาระสำคัญและสาระสำคัญทางการเงิน โดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกเข้ามามีส่วนร่วม
  • จัดประชุมคณะกรรมการเพื่อดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีวาระพิจารณาข้อมูลประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนแบ่งแยกตามกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งเป็นข้อมูลจากผลการสำรวจและประเด็นสำคัญของ BDMS
  • จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นออนไลน์สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน เช่น ตัวแทนพนักงาน ผู้บริหารในแต่ละกลุ่มธุรกิจ และตัวแทนผู้มีส่วนได้เสีย
  • รวมผลลัพธ์และจัดทำในรูปแบบ Double Materiality Matrix

3. การทวนสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ 

  • ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของการจัดลำดับประเด็นด้านความยั่งยืนที่่สำคัญพร้อมทั้งรายงานประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญต่อคณะกรรมการจัดการเพื่อพิจารณาและขอความเห็นชอบต่อผลการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของ BDMS

4. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 

  • BDMS พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียผ่านหลากหลายช่องทางเพื่อให้สามารถนำไปปรับปรุงพัฒนาการดําเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กรต่อไปในอนาคต

 

ประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของ BDMS 

ประเด็นสำคัญของ BDMS ประกอบด้วยประเด็นสำคัญ 13 ประเด็น โดยมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมได้แก่ แนวทางปฏิบัติในการขายและการติดฉลากและการเข้าถึงการดูแลสุขภาพได้ถูกรวมเข้ากับคุณภาพการบริการและความปลอดภัย และนวัตกรรมและความร่วมมือ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มประเด็นสำคัญใหม่อีก 2 ประเด็น ได้แก่ การกำกับดูแลกิจการและแผนการรับมือทางธุรกิจ และจากการวิเคราะห์ Double Materiality จึงได้ประเด็นที่มีสาระสำคัญของ BDMS ในเมทริกซ์ที่มีนัยสำคัญดังต่อไปนี้ 

สำหรับปี 2566 บริษัทได้ประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ แบ่งเป็น 3 หมวด และประเด็นสำคัญ 13 ประเด็น จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ BDMS ซึ่งมีทั้งหมด 7 กลุ่ม ได้แก่ 1) ลูกค้าและผู้ป่วย 2) พนักงาน 3) แพทย์และทันตแพทย์ 4) คู่ค้า 5) ธนาคาร/เจ้าหนี้ 6) นักลงทุนและผู้ถือหุ้น 7) ชุมชนและสังคม 

ประเด็นสำคัญที่มีนัยสำคัญ

(Significance Material Issues)

ประเด็นสำคัญพื้นฐาน

(Fundamental Material Issues)

1. ความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องข้อมูล

2. การกำกับดูแลองค์กร

3. คุณภาพการให้บริการและความปลอดภัยของผู้ป่วย

4. การพัฒนาศักยภาพและรักษาทรัพยากรบุคคล

5. การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

6. นวัตกรรมและเทคโนโลยีแห่งความยั่งยืน

7. การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ

8. ลูกค้าสัมพันธ์

9. การมีส่วนร่วมกับชุมชน

10. สุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากร

11. การเคารพสิทธิมนุษยชน

12. เศรษฐีกิจหมุนเวียน

13. การดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ