Sustainability

EN | TH

เศรษฐกิจหมุนเวียน

ในสภาวะปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทำให้องค์กรต่างๆรวมถึงประชาชนต้องกลับมาทบทวนวิธีคิดใหม่เกี่ยวกับรูปแบบการผลิต การบริโภคและการบริการ โดยเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นวิธีหนึ่งที่ BDMS คาดว่าจะช่วยแก้ปัญหาที่ท้าทายเหล่านี้ และยังช่วยให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ลดค่าใช้จ่ายการจัดการของเสียและยังช่วยตอบสนองให้มีทรัพยากรเพียงพอ ในขณะที่ประชากรมีการเติบโตสูงขึ้น สามารถช่วยลดการพึ่งพาวัตถุดิบสำคัญจากต่างประเทศ ลดปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดการเกิดขยะ และเกิดนวัตกรรมวิธีการผลิตใหม่ๆที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่าเดิม โดย BDMS ได้กำหนดทิศทางและตั้งเป้าหมายความยั่งยืนปี 2593 ด้วยการเพิ่มสัดส่วนของขยะไม่อันตรายที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์เป็น 50%

BDMS ให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด และเน้นการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ภายใต้แนวทางการบริหารจัดการตามระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ในขณะเดียวกัน ยังมีการส่งเสริมความตระหนักรู้และสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค ตามหลัก 5Rs (Reduce, Reuse, Recycle, Repair และ Reject) 

A close-up of a screen

Description automatically generated

 แนวทางการจัดการขยะ (Waste Management) มีแนวทางการดำเนินงานดังนี้ 

1. ภาชนะรองรับขยะต้องมีลักษณะที่เหมาะสมกับการใช้งาน โดยมีสีเฉพาะสําหรับรองรับขยะแต่ละประเภท หรืออาจกําหนดข้อความหรือสัญลักษณ์อื่นซึ่งแสดงถึงขยะประเภทนั้นไว้อย่างชัดแจ้งที่ภาชนะรองรับขยะแทนก็ได้ 

  • สีน้ำเงิน สําหรับขยะทั่วไป
  • สีเขียว สําหรับขยะอินทรีย์
  • สีเหลือง สําหรับขยะนํากลับมาใช้ใหม่
  • สีส้มหรือสีเทา สําหรับขยะที่เป็นพิษหรืออันตราย
  • สีแดง สําหรับขยะติดเชื้อ

2. การตั้งวาง ภาชนะรองรับขยะ ในพื้นที่ของโรงพยาบาล/บริษัท 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ ทำหน้าที่จัดหาถังขยะ ตั้งไว้ในพื้นที่ต่างๆ รอบโรงพยาบาล/บริษัท ซึ่งมีป้ายชี้บ่งชัดเจนให้เพียงพอ เหมาะสมกับปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้น 

  • โรงพยาบาล ควรตั้งภาชนะรองรับขยะในพื้นที่ต่างๆ อย่างน้อย 3 รายการคือ ขยะทั่วไป, ขยะรีไซเคิล และขยะติดเชื้อ
  • บริษัท ควรตั้งภาชนะรองรับขยะในพื้นที่ต่างๆอย่างน้อย 2 รายการคือ ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล
  • โรงเรือนขยะของโรงพยาบาล/บริษัท ต้องมีการแยกขยะให้ครบ 5 ประเภท ตามข้อ 1

3. วิธีการจัดการขยะ ให้ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับในเครือ BDMS มีหน้าที่คัดแยกขยะและจัดการของเสียอันตรายก่อนทิ้งให้ถูกต้องเหมาะสม และแนวทางการกำจัดขยะของโรงพยาบาล/บริษัทสามารถพิจารณาได้ตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ตามแนวทางปฎิบัติและกฎหมายที่กำหนด 

การเฝ้าติดตามและการวัดกระบวนการ 

  • โรงพยาบาล/บริษัทจัดให้มีการสุ่มทวนสอบการทิ้งขยะ เป็นประจำตาม ณ จุดทิ้งขยะ อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในการคัดแยะขยะให้ถูกต้อง
  • ปริมาณขยะ (หน่วยกิโลกรัม) แต่ละประเภทของโรงพยาบาลและบริษัท จะถูกทวนสอบโดยหน่วยงานความยั่งยืนองค์กรทุก 3 เดือน